วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเพณีตักบาตรเทโว(ภาคกลาง)

ประเพณีภาคกลาง

ประเพณีตักบาตรเทโว

36_20121024130859.
ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ซึ่งตรงกับช่วงสิ้นสุดการอยู่จำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือนของภิกษุสงฆ์ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้พอดี  ในทุกๆ ปี พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะถือเอาวันนี้เป็นวันสำคัญ จะร่วมกันทำบุญตักบาตรโดยจัดพิธีเป็นพิเศษกว่าการทำบุญตักบาตรทั่วไป เรียกการตักบาตรครั้งนี้ว่า ตักบาตรเทโว  หรือการถวายบาตรพระภิกษุเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเป็นการทำบุญทำกุศลอุทิศให้แก่บรรพบุรุษ บิดามารดา ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เจ้ากรรมนายเวรและเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว
คำว่า เทโว  มาจากคำว่า เทโวโรหณะ หมายถึงการเสด็จลงมาจากเทวโลกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเหตุการณ์หลังจากที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ทรงออกประกาศพระศาสนาไปทั่วชมพูทวีป เสด็จไปโปรดเทศนาพระญาติพระวงศ์ทั้งหลายจนได้ดวงตาเห็นธรรมตามสมควร คงเหลือแต่พระนางสิริมหามายา พุทธมารดาที่สิ้นพระชนม์ไปหลังจากที่มีพระประสูติกาลได้ ๗ วัน องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงดำริจะที่จะขึ้นไปเทศนาแสดงธรรมโปรดแด่พุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเป็นการสนองพระคุณ เป็นเวลา ๑ พรรษา ในพรรษาที่ ๗ หลังจากที่ทรงตรัสรู้ และเสด็จกลับลงมายังโลกมนุษยในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เมื่อเหล่าเทพบุตร เทพธิดา เทวดานางฟ้า มนุษย์ ภูติผีปีศาจ อสูรกาย ประชาชนทราบข่าวการเสด็จกลับลงมาจากดาวดึงส์ จึงพากันไปเข้าเฝ้าฯ รออยู่ที่เชิงบันไดเพื่อถวายบาตรแด่พระองค์กันอย่างเนื่องแน่น
163993
วัดแต่ละวัดจะอัญเชิญพระพุทธรูปที่คนในชุมชนเคารพนับถือขึ้นประดิษฐานบุษบก พร้อมกับวางบาตรไว้ด้านหน้า จัดเป็นขบวนแห่นำหน้าแถวพระภิกษุสงฆ์ สามเณร เพื่อรับบาตรจากญาติโยมทั้งหลาย บางวัดที่มีพระพุทธบาทจำลองอยู่บนเขา พระภิกษุสงฆ์จะเดินลงมาตามบันไดเชิงขาเพื่อรับบาตร เสมือนเหตการณ์ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ลงมาทางบันไดเชิงเขา
มีการจัดถวายภัตตาหารคาวหวาน ข้าวสารอาหารแห้ง ดอกบัว ข้าวต้มโยน เนื่องจากในครั้งสมัยพุทธกาล มีประชาชนต่างมารอเฝ้ารับเสด็จฯ เป็นจำนวนมากทำให้ไม่สามารถใส่บาตรถึงตัวพระองค์ได้ จึงพากันอธิษฐานแล้วใส่บาตรแทน ซึ่งด้วยศรัทธาตั้งใจจริงทำให้อาหารที่โยนมานั้นตกลงในบาตรของพระพุทธองค์ได้พอเหมาะพอดี
img03342-20111013-1535
นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกชนิดหนึ่งที่กล่าวถึงในพุทธประวัติสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์การเสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย นั่นคือ ข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์) หรือข้าวที่กวนกับน้ำผึ้ง  โดยข้าวทิพย์นี้จะประกอบพิธีกวนขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนวันออกพรรษา ๑ วัน โดยจะต้องให้เด็กหญิงที่ยังไม่มีประจำเดือน ๔ คน นุ่งขาว ห่มขาว ทำหน้าที่กวนข้าวทิพย์ การกวนข้าวทิพย์นี้ตามตำนานความเชื่อกล่าวไว้ว่า นางสุชาดาคือผู้ริเริ่มการปรุงข้าวมธุปายาสมาถวายองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาเหล่าเทพบุตร เทพธิดา เทวดานางฟ้า มนุษย์ ภูติผีปีศาจ อสูรกาย ได้รวมตัวกันประกอบพิธีกวนข้าวทิพย์เพื่อแจกจ่ายให้ได้นำไปถวายบาตรแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าร่วมกัน จึงเป็นที่มาของการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนและวัดที่จะรวมกันจัดพิธีกวนข้าวทิพย์เพื่อใช้ในการตักบาตรในวันตักบาตรเทโวนั่นเอง

ประเพณีไหลเรือไฟ(ภาคอีสาน)

ประเพณีภาคอีสาน

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไทย ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟ งานไหลเรือไฟออกพรรษา
ในคืนวันออกพรรษา จังหวัดทางภาคอีสานที่ติดกับลุ่มน้ำมูล ชี และโขง จะมีประเพณีการปล่อยเรือไฟไหลไปตามลำน้ำ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในชื่อว่า ประเพณีไหลเรือไฟ หรือในภาษาถิ่นจะเรียกว่า เฮือไฟ  โดยจะจัดขึ้นในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑  ของทุกปี นอกจากสะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาในพระพุทธศาสนานของชาวบ้านแล้ว ยังเแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนเดียวกันอีกด้วย 
ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็จะมีคติความเชื่อเกี่ยวกับการไหลเรือไฟคล้ายๆ กัน นั่นคือ การไหลเรือไฟเพื่อเป็นการสักการะบูชาสิ่งที่เคารพนับถือ เช่น เพื่อเป็นเครื่องสักการะบูชารอยพระพุทธบาท บวงสรวงพระธาตุจุฬามณี การขอขมาแม่พระคงคาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไปในแม่น้ำลำคลอง  บรวงสรวงต่อพญานาค บางแห่งเชื่อว่าการไหลเรือไฟเป็นการสะเดาะเคราห์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากตนเองและครอบครัว บ้างก็เชื่อว่าการไหลเรือไฟจะทำให้ปีต่อๆ ไปฝนตกต้องตามฤดูกาล ด้วยเหตุนี้ สมัยก่อนแต่ละหมู่บ้านก็จะร่วมกันสร้างเรือไฟขึ้นมาสำหรับหมู่บ้านหรือชุมชนของตนเองก่อนจะนำมารวมกันที่ลำน้ำ
ประเพณีไหลเรือไฟ เรือประกอบไปด้วยไม้ไผ่ กับผ้าชุบน้ำมันยาง
เรือไฟเป็นไม้ไผ่อันเล็กๆ มัดให้เป็นลายตามที่ต้องการ แล้วใช้ผ้าเก่าๆ มาฉีกเป็นริ้ว ชุบน้ำมันยาง
เรือไฟที่ใช้จะเป็นเรือที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างขึ้นจากต้นกล้วยและไม้ไผ่ เรือจะแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือส่วนทุ่นหรือส่วนที่ลอยน้ำได้จะใช้ไม้ที่ลอยน้ำได้มาผูกเป็นแพ  กับส่วนที่ขึ้นโครงเป็นแผงผูกขี้ไต้ น้ำมันยางชุบเศษผ้า หรือเชื้อไฟให้เป็นรูปร่างต่างๆ  โดยมากแล้วรูปร่างหรือลวดลายที่ทำออกมาก็จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาหรือพุทธประวัติ  มีการนำของกิน ของใช้ เสื้อผ้า ขนม ข้าวต้มมัด กล้วย อ้อย หมากพลู บุหรี่มาใส่ไว้ในเรือ พร้อมกับนำดอกไม้ ธูป เทียน มีการตัดเล็บ ตัดผมใส่ลงไปด้วยเพื่อเป็นการลอยเคราะห์ ลอยโศกไปด้วย เมื่อจุดไฟที่แผงดังกล่าว เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงที่ผูกขึ้น ก่อนจะจุดไฟและปล่อยเรือล่องไปตามแม่น้ำ
ก่อนที่จะถึงเวลาปล่อยเรือล่องไปตามลำน้ำในช่วงกลางคืน  ในช่วงเช้าจะมีพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จากนั้นชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านก็จะแห่ขบวนเรือของแต่ละหมู่บ้าน (เรียกกันว่าคุ้ม) ไปรวมกันที่กลางหมู่บ้าน และประกวดขบวนเรือกัน ตอนค่ำจะมีพิธีพราหมณ์หรือพิธีสงฆ์มาเป็นผู้นำกล่าวบทสวด และนำเรือมาปักธูปเทียน ดอกไม้ แล้วนำไปปล่อยลอยที่แม่น้ำ
ปัจจุบันประเพณีไหลเรือไฟเริ่มที่จะมีการประกวดประขันกันในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ลวดลายบนเรือไฟกันมากขึ้น  มีลูกเล่นแปลกตามาเรียกคะแนนผู้ชม ปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เพื่อให้ลอยน้ำและจุดไฟได้นานขึ้น เช่น การหันมาใช้เรือจริงๆ แทนต้นกล้วย ใช้ผ้าชุบน้ำมันเชื้อเพลิงแทนการใช้น้ำมันยางแบบสมัยก่อน
ประเพณีไหลเรือไฟ จัดช่วงออกพรรษาทางภาคอีสาน

ประเพณีลอยกระทง(ภาคกลาง)

ประเพณีภาคกลาง

ประเพณีลอยกระทง

ลอยกระทง
คนไทยเราผูกพันกับสายน้ำมาตั้งแต่ครั้งโบราณ สายน้ำเป็นทั้งแหล่งบริโภค อุปโภค การเพาะปลูก ประกอบกับคนไทยในอดีตจะตั้งบ้านเรือนใกล้ๆ กับแหล่งน้ำ ทำให้คนไทยผูกพันกับสายน้ำอย่างแยกไม่ออก และเป็นที่มาของคติความเชื่อเกี่ยวกับสายน้ำหลายประการด้วยกัน
ในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 คืนที่พระจันทร์สว่างเต็มดวง สายน้ำหลากปริ่มตลิ่ง พร้อมกับแสงเทียนจากกระทงประดับดอกไม้ ธูปเทียนสว่างไสวอยู่ตามลำน้ำ เป็นช่วงเวลาของประเพณีสำคัญของสายน้ำอีกประเพณีหนึ่ง ประเพณีลอยกระทง
เนื่องด้วยประเพณีลอยกระทงไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ประเทศจีน ประเทศอินเดีย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศพม่า คติความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆ จึงแตกต่างกันไป
แม้แต่ในประเทศไทยเองก็ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงหลายความเชื่อ อาทิ การลอยกระทงเป็นพิธีรับเสด็จพระพุทธองค์กลับลงมาจากสวรรค์หลังเสด็จไปโปรดพุทธมารดา บูชารอยพระพุทธบาท บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  บางก็เชื่อว่าบูชาพระอุปคุตเถระ หรือเป็นการบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อ แสดงความขอบคุณแม่พระคงคาที่ให้น้ำแก่มนุษย์ได้ดื่มกิน อุปโภค บริโภคและขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป หรือบางแห่งก็เชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการลอยเคราะห์ ลอยโศกทิ้งไป ดังจะเห็นได้จากที่มักจะมีการตัดเศษผม เศษเล็กใส่ไปกับกระทงด้วย
จะเห็นว่าแต่ละคติความเชื่อที่กล่าวมาต่างก็มีจุดประสงค์คล้ายกัน คือ การแสดงเคารพ ความกตัญญูรู้คุณต่อสิ่งที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์ พระพุทธเจ้า เทพเจ้า แม่พระคงคา บรรพชน  แม้แต่ธรรมชาติ  และแสดงความระลึกถึงด้วยสิ่งสักการะดอกไม้ ธูปเทียน
กระทง
ส่วนที่ว่าทำไมกระทงจะต้องเป็นรูปดอกบัว เนื่องจากประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีมาครั้งโบราณแต่ไม่ปรากฏว่าเริ่มมาแต่เมื่อไหร่ ที่พอใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้คือหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษร์หรือตำนานนางนพมาศ ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง พระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วงแห่งสุโขทัย จะเสด็จประพาสทางน้ำ มีรับสั่งให้พระสนมนางในทั้งหลายประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียน นำไปลอยหน้าพระที่นั่ง  ท้าวศรีจุฬาลักษณ์จึงประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น เนื่องจากเป็นดอกบัวที่บานในเวลากลางคืนและบานแค่ปีละครั้ง ควรค่าแต่งเป็นกระทงลอยเพื่อไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท   พระมหาธรรมราชาลิไทยจึงทรงมีพระราชดำรัสให้ กษัตริย์ไทยทุกพระองค์ เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะต้องเสด็จมาลอยโคมดอกบัวเพื่อถวายสักการะต่อพระพุทธบาทสืบไป ด้วยเหตุนี้ กระทงที่ใช้ลอยจึงมีหน้าตาคล้ายดอกบัวนั่นเอง
ปัจจุบันประเพณีลอยกระทงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับสถานการณ์ไปบ้าง แต่ยังคงรูปแบบประเพณีดั่งเดิมไว้ จากเดิมที่กระทงทำจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้รอบตัว เช่น หยวกกล้วย หรือดอกบัว มาในยุคหนึ่งกระทงได้กลายเป็นกระทงโฟมซึ่งหลังจากลอยไปแล้ว กระทงโฟมไม่ย่อยสลายได้เอง กลายเป็นขยะตามแม่น้ำลำคลอง สร้างปัญหาขยะ ต่อมาจึงมีการรณรงค์ให้กลับมาใช้วัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ เช่น กระทงขนมปังที่สามารถกลายเป็นอาหารของปลาได้

ประเพณีสารทเดือนสิบ(ภาคกลาง)

ประเพณีภาคกลาง

ประเพณีสารทเดือนสิบ

1351060723
ประเพณีสารทไทยหรือประเพณีทำบุญเดือนสิบทางภาคใต้โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีงานหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช เนื่องจากเป็นเทศกาลที่ชาวนครศรีธรรมราช จะเดินเข้าวัดทำบุญเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันแรม ๑๓ – ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ

และที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวนครฯ ก็คือ gopในการทำบุญจะต้องมีขนมสำคัญ ๕ อย่างรวมอยู่ด้วย ซึ่งขนมสำคัญ ๕ อย่างที่ว่านั้นยังแฝงนัยยะสำคัญอะไรบ้างอย่างไว้ด้วย
–  ขนมลา เชื่อกันว่าเป็นตัวแทนของเสื้อผ้าที่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วใช้นุ่งห่ม
–  ขนมกงหรือขนมไข่ปลา เปรียบได้กับเครื่องประดับที่บรรพบุรุษนำไปประดับตกแต่งร่างกาย
–  ขนมพอง ชาวนครศรีธรรมราชเชื่อว่าเสมือนแพพาหนะให้บรรพบุรุษใช้ข้ามวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิด
–  ขนมบ้า เปรียบเทียบได้กับเมล็ดสะบ้า ที่บรรพบุรุษเอาไว้เล่นสะบ้าในเทศกาลตรุษสงกรานต์
–  ขนมดีซำ หมายถึงเงินทองที่บรรพบุรุษสามารถนำไปใช้ในโลกหน้าได้
 5-18-7-57
เดิมทีประเพณีสารทเดือนสิบนี้เป็นของพราหมณ์มาก่อน เมื่ออิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาในหมู่คนไทยทางภาคใต้ที่นับถือศาสนาพุทธ  ด้วยเห็นว่าความเชื่อนี้ของพรหมณ์เป็นสิ่งที่แสดงถึงความกตัญญูที่ลูกหลานสมควรมีให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว  และยังเป็นโอกาสที่ญาติพี่น้องที่แยกย้ายกันไปสร้างครอบครัวในที่ห่างไกลจะได้กลับมาพบหน้ากัน กระชับสายสัมพันธ์ในครอบครัวให้แนบแน่นยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ชาวนครศรีธรรมราชยังมีความเชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบเป็นวันที่ประตูนรกเปิดออก เปรตที่ต้องถูกจองจำให้ชดใช้เวรกรรมในนรก จะได้รับอิสรภาพเป็นการชั่วคราวให้ขึ้นมายังโลกมนุษย์เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลาน ด้วยเหตุนี้ ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะพากันนำอาหารไปทำบุญอุทิศผลบุญกุศลจากการทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับของตนเอง ชาวนครศรีธรรมราชจึงมีประเพณีที่ชื่อว่า ชิงเปรต เกิดขึ้นนั่นเอง
yala-105
ประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช จะเริ่มต้นขึ้นในวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือนสิบ วันนี้จะเรียกกันว่าเป็น วันจ่าย มีการจับจ่ายซื้อขายอาหารแห้ง พืชผัก ข้าวของเครื่องใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นตัวแทนของงานสารทเดือนสิบ จัดเตรียมไว้สำหรับพิธีการวันรุ่งขึ้น  โดยจะจัดสิ่งของ อาหารคาวหวานและขนมสำคัญ ๕ อย่างใส่ภาชนะที่เตรียมไว้โดยวางเรียงเป็นชั้นๆ ขึ้นมา ชาวนครฯ จะเรียกกันว่าการจัดหมุรับ โดยจะเรียงข้าวสารอาหารแห้งไว้ชั้นล่างสุด ต่อจากนั้นก็จะเป็นชั้นของพืชผักที่เก็บไว้ได้นานๆ ถัดขึ้นมาจะเป็นชั้นของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน ส่วนชั้นบนสุดจะจัดเรียงขนมสำคัญ ๕ อย่าง
วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบ ชาวนครจะนำหมุรับที่จัดไว้ ไปทำบุญที่วัดพร้อมกับถวายภัตตาหารไปด้วย และวันสุดท้ายของประเพณีสารทเดือนสิบ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ จะเป็นวันฉลอง ที่วัดจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ และบังสุกุล เพื่อส่งบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วกลับไปยังนรก ตามประเพณีปฏิบัติแล้ว บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วจะได้รับผลบุญนี้ก็ต่อเมื่อมีลูกหลานจัดฉลองหมุรับ และการบังสุกุลให้เท่านั้น
ในวันเดียวกันนี้เอง หลังจากฉลองหมุรับและถวายภัตตาหารพระภิกษุแล้ว ชาวนครฯ จะทำทานต่อด้วยการนำขนมบางส่วนไปวางไว้ตามโคนไม้ใหญ่ หรือกำแพงวัดบ้าง  หรือวางไว้บนศาลาหรือทำเป็นศาลาสูงมีเสาเพียงต้นเดียว ในศาลาจะใส่ขนม ผลไม้ และเงิน เมื่อถึงเวลา ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะวิ่งกรูกันเข้าไปที่ศาลาไม้นี้หรือแย่งกันปีนเสาที่ชโลมน้ำมันเอาไว้ การปีนจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่กลายเป็นภาพความสนุกสนาน ความตื่นเต้นของผู้ยืนลุ้นเอาใจช่วยอยู่ด้านล่าง
จะเห็นได้ว่าประเพณีสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราชนั้น ไม่เพียงสอนให้คนรู้จักการเข้าวัดเข้าวาเท่านั้น ยังสอนให้คนเป็นคนกตัญญูต่อบรรพบุรุษทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและที่ยังมีลมหายใจอยู่ สอนให้รู้จักการบริจาคทาน  เปิดโอกาสให้สถาบันครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคมได้สานความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้เข้มแข็งขึ้น

ประเพณีบุญข้าวประดับดิน(ภาคอีสาน)

ประเพณีภาคอีสาน

ประเพณีบุญข้าวประดับดิน
boonkaew
ในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า ชาวลาวและชาวไทยอีสานจะมีงานบุญสำคัญเกิดขึ้นงานหนึ่ง เรียกกันในชื่องานบุญข้าวประดับดิน หรืองานบุญเดือนเก้า ซึ่งจะตรงกับเดือนสิงหาคมของทุกปี โดยจะนำข้าวปลาอาหาร ของคาว ของหวาน ผลไม้ หมากพลู บุหรี่ แบ่งมาอย่างละเล็ก อย่างละน้อย ห่อใบตองเป็นห่อเล็กๆ นำไปวางไว้ตามโคนไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินรอบๆ เจดีย์หรือโบสถ์ เพื่ออุทิศกุศลให้แก่ปู่ย่าตายายญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยจะเรียกประเพณีนี้ว่า ประเพณีบุญข้าวประดับดิน
บุญข้าวประดับดิน
ที่ชาวลาวและชาวไทยอีสานเลือกวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้าเป็นวันทำบุญข้าวประดับดินก็สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ในคืนวันดังกล่าว ประตูนรกภูมิจะเปิดออก ภูติผีในนรกจะได้ออกมาเยี่ยมญาติพี่น้องในโลกมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่จึงจัดห่อข้าวปลาอาหารนำมาเลี้ยงดูญาติพี่น้องของตนที่เสียชีวิตไปแล้ว
ความเชื่อดังกล่าวนี้มีที่มาจาก ตอนหนึ่งในพระธรรมบท ที่เล่าถึงพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วไม่ได้อุทิศให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ทำให้ดวงวิญญาณญาติต่างไม่ได้รับส่วนบุญ จึงมาส่งเสียงร้องใกล้ที่ประทับ หลังทูลถามพระพุทธเจ้า ทรงแนะนำให้พระเจ้าพิมพิสารถวายทานแล้วอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณญาติเหล่านั้นนั่นเอง
boon2
กิจกรรมหรือพิธีกรรมในวันทำบุญข้าวประดับดินนั้น จะเริ่มกันล่วงหน้า ๑ วันก่อนถึงวันงาน ในตอนเย็น จะมีการจัดเตรียมอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรีไว้ ๔ ชุดด้วยกัน  ชุดที่หนึ่งไว้เลี้ยงดูภายในครอบครัว ชุดที่สองแจกจ่ายให้ญาติพี่น้อง ชุดที่สามจะห่อข้าวน้อยหรือห่อใบตองขนาดเท่าฝ่ามืออุทิศให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และชุดที่สี่ เตรียมไว้ถวายพระภิกษุสงฆ์
สำหรับอาหารคาวหวานผลหมากรากไม้ที่นำมาห่อใบตอง ประกอบด้วย ข้าวเหนียวนึ่งสุก ปั้นเป็นก้อนเล็กๆ เท่าหัวแม่มือ ๑ ก้อน เนื้อปลา หมู่ ไก่  กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่นๆ  หมาก ๑ คำ บุหรี่ ๑ มวน เมี่ยง ๑ คำ
27092013_17_00_16_tekhn7pfsxrah0nc64wt
หลังจากนั้นชาวบ้านจะนำห่อใบตองนี้ไปวางตามโคนไม้ใหญ่ ตามริมกำแพงวัด ริมโบสถ์ เจดีย์ในวัดในช่วงเช้ามืดของวันทำบุญ และกลับไปเตรียมอาหารนำไปถวายที่วัด มีการถวายปัจจัยไทยทานแก่พระภิกษุสงฆ์ รับพรจากพระสงฆ์ ชาวบ้านก็จะมากรวดน้ำ อุทิศกุศลผลบุญให้แก่บรรพบุรุษ ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
หากมองผิวเผิน งานประเพณีบุญข้าวประดับดินนี้ เป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับแล้ว ยังถือเป็นการฝึกฝนจิตใจให้เป็นผู้ให้ แก่ผู้ยากไร้ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่ต้องหิวโหย  ที่อาจจะเดินผ่านมายังบริเวณที่วางห่อข้าวน้อยนี้ไว้ตามทาง ชำระล้างความตระหนี่ถี่เหนียว ความเห็นแก่ตัวในจิตใจคนเราได้เป็นอย่างดี

ประเพณีบุญบั้งไฟ(ภาคอีสาน)

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม เกษตรกรจึงต้องพึ่งพาธรรมชาติในการเพาะปลูก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นหลักในการเพาะปลูก หากปีใดน้ำไม่เพียงพอที่จะเพาะปลูก เกษตรกรจะจัดพิธีขอฝน ในแต่ละภูมิภาคมีพิธีขอฝนที่แตกต่างกัน ภาคกลางมีประเพณีแห่นางแมวขอฝน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประเพณีบุญบั้งไฟ  หนึ่งในประเพณีสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยตลอดจนถึงประเทศลาวที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันต่อมา
ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือ “งานบุญเดือนหก”  เป็นประเพณีพื้นถิ่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ที่จัดในช่วงฤดูฝนที่เข้าสู่ฤดูทำนา อยู่ในช่วงเดือน ชาวนาชาวไร่จะทำพิธีบูชาขอฝนจากพญาแถน เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  ข้าวกล้าในนาไม่เสียหาย
บั้งไฟๅ
ประเพณีบุญบั้งไฟนี้มีที่มาจากตอนหนึ่งของนิทานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่ ที่ได้กล่าวถึง การจุดบั้งไฟเป็นการบูชาพพญาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ตามความเชื่อของชาวอีสาน เชื่อกันว่าพญาแถนคือเทพที่คอยดูแลให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล และชอบไฟมากเป็นพิเศษ หากบ้านใดจัดงานบุญบั้งไฟขึ้นบูชา พญาแถนก็จะดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ผืนดินอุดมสมบูรณ์
นอกจากจะเป็นการขอฝนแล้ว ในความเชื่อของชาวบ้านในท้องถิ่นมีอยู่ว่าการจุดบั้งไฟยังเป็นการเสี่ยงทายอย่างหนึ่ง  ถ้าจุดบั้งไฟแล้วลอยขึ้นสูง ทำนายได้ว่าปีนี้ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ดี
ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งของประเพณีขอฝนของชาวอีสานนี้ก็คือ ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำบั้งไฟจากกระบอกไม้ไผ่ที่บรรจุดินปืนลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าได้คล้ายกับจรวดซึ่งในสมัยก่อนวิทยาการยังไม่ก้าวหน้า แต่ชาวอีสานสามารถทำบั้งไฟลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน
บั้งไฟ
ในวันงานประเพณีบุญบั้งไฟ ชาวบ้านจะนำบั้งไฟของแต่ละหมู่บ้านมาจุดแข่งกัน บั้งไฟของบ้านไหนจุดแล้วลอยสูงที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะไป ส่วนบั้งไฟที่ลอยต่ำที่สุดหรือแตกก่อนถือว่าแพ้ ผู้แพ้ต้องโดนลงโทษด้วยการอุ้มไปโยนลงบ่อโคลน สร้างเสียงหัวเราะบรรยากาศสนุกสนานในงาน
งานบุญบั้งไฟของชาวอีสานจึงเป็นประเพณีที่แสดงออกถึงการเคารพ ให้เกียรติธรรมชาติ และการฉลอง ความสนุกสนาน รื่นเริง ในวันงานจึงมีขบวนแห่บั้งไฟพร้อมนางเซิ้งนำขบวนแห่บั้งไฟ มีการประกวด แข่งขันจุดบั้งไฟ   จังหวัดที่จัดงานบุญบั้งไฟอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดยโสธร และจังหวัดหนองคาย

ประเพณีแข่งขันเรือยาว(ภาคกลาง)

ประเพณีภาคกลาง

ประเพณีแข่งขันเรือยาวประเพณี

IMG_0347

การแข่งขันเรือยาวประเพณี มรดกวัฒนธรรมทางสายน้ำที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ เรือและผู้คน บนพื้นฐานความสามัคคีพร้อมเพรียง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชุมชน ประเพณีการแข่งขันเรือยาวที่มักจัดคู่ไปกับการเข้าวัดทำบุญตักบาตร เนื่องในเทศกาลออกพรรษา ทอดกฐินผ้าป่าสามัคคี
ประเพณีแข่งขันเรือยาวประเพณีนี้ เป็นเกมกีฬาเก่าแก่ย้อนกลับไปถึงสมัยอยุธยากรุงเก่า เป็นที่นิยมเล่นกันทั้งภายในพระราชวังไปจนถึงชาวบ้านร้านตลาด  ดังที่มีปรากฏในกฏมณเทียรบาลเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ได้กล่าวถึงพระราชพิธีเดือน ๑๑ จะมีการแข่งเรือยาวขึ้น เพื่อเป็นการฝึกปรือกำลังพลทหารประจำกองเรือ
ส่วนการแข่งขันเรือยาวประเพณีของชาวบ้านทั่วไป จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการละเล่นในช่วงเทศกาลทอดกฐินด ทอดผ้าป่า ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือน ๑๑ – ๑๒ ซึ่งจะตรงกับฤดูน้ำหลากพอดี ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำซึ่งใช้เรือเป็นพาหนะอยู่แล้ว เมื่อถึงหน้ากฐิน ผ้าป่าสามัคคีก็มักจะนิยมนำเรือมาร่วมขบวนแห่ผ้ากฐิน องค์ผ้าป่าไปยังวัดอยู่แล้ว หลังพิธีการทางศาสนาจบลง จะมีการแข่งเรือกันขึ้นเพื่อความสนุกสนาน

ปัจจุบันการแข่งขันเรือยาวพัฒนาจากการละเล่น กีฬาเชื่อมbb1ความสามัคคีของคนในชุมชนกลายเป็นเกมกีฬาระดับประเทศชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯวันนี้ กลายเป็นกีฬาทางน้ำที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในหลายๆ สนามแข่งขัน ตามลุ่มน้ำสำคัญในประเทศ  เช่น ประเพณีแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิต การแข่งขันเรือยาวจังหวัดน่าน การแข่งขันเรือยาวจังหวัดชุมพร  และจังหวัดอื่นๆ ที่เป็นลุ่มน้ำสำคัญในประเทศไทย
การแบ่งประเภทการแข่งขันเรือยาว จะแบ่งตามขนาดของเรือ  เรือยาวใหญ่  ๔๑ – ไม่เกิน ๕๕ ฝีพาย  เรือยาวกลาง ฝีพาย ๓๑ – ไม่เกิน ๔๐ ฝีพาย  และเรือยาวเล็กที่มีฝีพายไม่เกิน ๓๐ ฝีพาย โดยเรือจะขุดขึ้นจากต้นตะเคียนทั้งต้นโดยช่างขุดเรือที่มีฝีมือในการขุดเรือ   ส่วนระยะทางที่ใช้แข่งขัน จะมีระยะทางประมาณ ๖๐๐ – ๖๕๐ เมตร โดยจะมีทุ่นบอกระยะทุกๆ ๑๐๐ เมตร
กติกาการแข่งขันเรือยาวประเพณี ใช้ระบบแพ้คัดออก โดยจับคู่แข่งขันกัน หากเรือฝ่ายใดแข่งชนะ ๒ ครั้ง ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ฝ่ายละเที่ยวก็จะต้องมาตัดสินในการแข่งเที่ยวที่ ๓
51_29777f6768784dcccd8b79ee73604f7a
จุดประสงค์สำคัญของการจัดแข่งขันเรือยาวประเพณี ไม่ว่าจะเป็นสนามใดก็ตาม คือ สร้างความสามัคคีของฝีพายในเรือลำเดียวกัน  ความเสียสละของฝีพายที่จะต้องขยันหมั่นซ้อมพาย ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และเสน่ห์ของเกมกีฬาประเภทนี้อีกอย่างก็คือ จังหวะ ความพร้อมเพรียงในการพาย การจ้วงพายให้เร็วขึ้นเมื่อเข้าใกล้เส้นชัย กระชับ รวดเร็วแต่พร้อมเพรียงกัน การแข่งขันที่ให้คนดูได้ลุ้นอยู่ตลอดเวลา และการพากย์เสียงของพิธีกรประจำสนามที่ต้องยอมรับว่าสร้างความตื่นเต้นเร้าใจให้กับการแข่งขันได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ประเพณีแห่นางแมว(ภาคกลาง)

ประเพณีภาคกลาง

ประเพณีแห่นางแมว

995j75jgab9b5e7ii569a
ประเพณีแห่นางแมวเป็นพิธีกรรมขอฝนของเกษตรกรไทยจัดขึ้นทั้งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงหนือ เมื่อใกล้ฤดูเพาะปลูกแล้วแต่ฝนยังไม่มาหรือมาล่าช้ากว่าปรกติ ส่งผลให้ข้าวในนา พืชในสวนขาดน้ำหล่อเลี้ยง ให้ผลผลิตไม่ได้เต็มที่ ชาวนา ชาวไร่ก็จะจัดพิธีแห่นางแมวขอฝนที่ทำสืบต่อกันมาด้วยความเชื่อที่ว่า หากทำพิธีแห่นางแมวแล้ว อีกไม่ช้าฝนก็จะตกลงมา
สมัยโบราณนั้น เชื่อกันว่าที่ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้งไปทั่วนั้น มีอยู่หลายสาเหตุ เช่น ดินฟ้าอากาศแปรปรวน ผู้คนย่อหย่อนศีลธรรม ผู้ปกครองไม่อยู่ในทศพิศราชธรรม และที่ใช้แมวแห่เพื่อขอฝนนั้น ก็มาจากความเชื่อกันว่า แมวเป็นสัตว์ที่กลัวฝน กลัวน้ำ หากฝนตกเมื่อใดแมวจะร้อง  คนโบราณถือเคล็ดว่า ถ้าแมวร้องแสดงว่าฝนกำลังจะตก
5905_2
บ้างก็เชื่อว่า แมวนั้นเป็นตัวแทนของความแห้งแล้ง หากเมื่อใดแมวถูกสาดน้ำจนเปียกปอนก็เท่ากับเป็นการขับไล่ความแห้งแล้งออกไปจากเมือง เมื่อบ้านเมืองเกิดความแห้งแล้งผิดธรรมชาติ จึงใช้กลอุบายให้แมวร้องออกมา ด้วยการนำแมวมาใส่กระบุงหรือตะกร้าแล้วแห่ไปรอบๆ หากขบวนแห่ผ่านหน้าบ้านใครก็ให้สาดน้ำใส่แมว เพื่อให้แมวร้องออกมา บ้างก็เชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับสามารถเรียกฝนได้
ด้วยเหตนี้เมื่อฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกษตรกรก็จะนัดหมายเตรียมจัดพิธีแห่นางแมวขึ้น โดยคัดเลือกแมวลักษณะดีสายพันธุ์สีสวาด เพศเมีย ๑ – ๓ ตัว ใส่กระบุงหรือตะกร้าออกแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน ฝนก็จะตกลงมาภายใน ๓ วัน ๗ วัน สาเหตุที่ต้องเลือกแมวสีสวาดก็เพราะคนโบราณมองว่าขนสีเทาคล้ายกับสีเมฆฝน บางแห่งอาจจะใช้แมวดำแทน
IMG_3312
ในระหว่างที่แห่นางแมวจะมีคนทำหน้าที่ร้องเพลงเซิ้ง ตีเกราะเคาะไม้เพื่อให้เกิดจังหวะสนุกสนานไปด้วย เนื้อหาการเซิ้งก็จะบรรยายถึงความแห้งแล้ง และอ้อนวอนให้ฝนตกลงมา  ขบวนแห่นางแมวจะเคลื่อนไปทั่วทุกหลังคาเรือน โดยมีกติการ่วมกันว่า ขบวนแห่นางแมวไปถึงบ้านใคร บ้านนั้นจะต้องเอาน้ำสาด
จะเห็นได้ว่า ในอดีตมนุษย์ต้องพึ่งพาธรรมชาติอยู่เสมอในการเพาะปลูก เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ต้องอาศัยน้ำ ฝนเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูก และเนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีระบบชลประทาน หรือฝนเทียม น้ำฝนจึงเป็นสิ่งเดียวที่ธรรมชาติมอบให้ ช่วยต่อชีวิตให้กับพืชผลการเกษตรในนาไร่ ถ้าปีไหนฝนฟ้าไม่เป็นใจ หรือมาล่าช้ากว่าปรกติ เพราะเพาะปลูกก็จะได้ผลไม่ค่อยดี หรือให้ผลไม่เต็มที่เท่าไหร่นัก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกษตรกรจึงต้องจัดพิธีแห่นางแมวขึ้นเพื่อขอฝน

ประเพณีนบพระเล่นเพลง(ภาคเหนือ)

ประเพณีภาคเหนือ

ประเพณีนบพระเล่นเพลง

ประเพณีไทย ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง
ในวันมาฆบูชาหรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ตามปฏิทินไทย หลายๆ จังหวัดต่างจัดให้มีการทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังเทศน์กันเป็นประเพณีนิยม แต่สำหรับชาวกำแพงเพชรแล้ว ในวันเพ็ญเดือนสามนี้ จะมีประเพณีสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวกำแพงเพชรปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ชื่อว่า ประเพณีนบพระ – เล่นเพลง
ประเพณีนบพระ – เล่นเพลงนี้มีที่มาอ้างอิงจากบันทึกบนศิลาจารึกศรีนครชุม หลักที่ ๓ ได้บันทึกเอาไว้ว่า “ผู้ใดไหว้นบ  กระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุ และพระศรีมหาโพธิไซร์ มีผล อานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบพระผู้เป็นเจ้า”  เนื่องจากในหลักศิลาได้กล่าวไว้อีกว่า ในสมัยแผ่นดินพระเจ้าลิไทหรือพระเจ้าทรงธรรมแห่งสุโขทัย เป็นยุคสมัยที่พุทธศาสนาเฟื่องฟูรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก พระศาสนาได้เผยแพร่ไปทั่วสารทิศ มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกามาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์ที่วัดพระพรมธาตุเจดียาราม  จังหวัดกำแพงเพชร  ในการนี้ได้นำต้นพระศรีมหาโพธิมาปลูกไว้ที่ด้านหลังองค์เจดีย์ด้วย
นับจากนั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือวันเพ็ญมาฆบูชา  กษัตริย์และญาติวงศ์ ข้าราชบริพาร ไพร่ฟ้าประชาชน จะจัดขบวนพยุหยาตราอย่างงดงาม เคลื่อนขบวนไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดพระบรมธาตุ เป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา
DSC00130

คำว่า นบ  เป็นคำโบราณ หมายถึงการกราบไหว้หรือสักการะ  ประเพณีนบพระ – เล่นเพลง จึงหมายถึง ประเพณีนมัสการพระบรมสารีริกธาตุที่เปรียบเสมือนตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีการละเล่นเฉลิมฉลองที่เรียกว่า เล่นเพลง โดยในวันนั้น เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ไพร่ฟ้าประชาชนจะร่วมกันจัดขบวนแห่เพื่อไปมนัสการพระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดพระบรมธาตุ กำแพงเพชร
ประเพณีนบพระ-เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท จังหวัดกำแพงเพชร
e0b980e0b8a5e0b988e0b899e0b980e0b89ee0b8a5e0b887e0b9852
เนื่องจากการเดินทางสมัยก่อนเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องอาศัยสัตว์พาหนะ ช้าง ม้า วัวควาย หรือการเดินเท้า ทำให้การเดินทางไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุกินเวลาข้ามวันข้ามคืน กว่าจะไปถึงวัดพระบรมธาตุก็สิ้นแสงพระอาทิตย์ไปแล้ว จึงต้องมีการค้างแรมก่อนที่จะเดินทางกลับในวันรุ่งขึ้น ระหว่างที่พักผ่อนในตอนกลางคืน เพื่อไม่ให้บรรยากาศเงียบเหงา ชาวบ้านจึงจัดให้มีการแสดง การละเล่นต่างๆ ขึ้น จนถึงขั้นมีการประกวดประขันกันระหว่างชุมชน เรียกว่า การเล่นเพลง
ปัจจุบันชาวกำแพงเพชรยังคงยึดถือปฏิบัติประเพณีนบพระ – เล่นเพลงเฉกเช่นเดียวกับสมัยก่อน โดยจะมีการจัดงานประเพณีในวันมาฆบูชาของทุกปี มีการจัดขบวนแห่อย่างงดงาม แห่แหนข้ามแม่น้ำปิงไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดพระบรมธาตุ  มีมหรสพสมโภช การละเล่นทางวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ประเพณีโบราณนี้ให้ตกทอดไปถึงลูกหลาน

ประเพณีลอยโคม(ภาคเหนือ)

ประเพณีภาคเหนือ

ประเพณีลอยโคม

yi-peng-lantern-festival-01
ประเพณีหนึ่งที่ชาวล้านนาถือปฏิบัติคู่ไปกับประเพณียี่เป็งก็คือการลอยโคม การลอยโคมของชาวล้านนาเป็นการปล่อยโคมขึนไปสู่ท้องฟ้า แทนการลอยกระทงในลำน้ำอย่างประเพณีของคนภาคกลาง ชาวล้านนาเชื่อว่าการจุดโคมลอย แล้วปล่อยขึ้นฟ้า เป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ และยังเป็นการปล่อยทุกข์ปล่อยโศก และเรื่องร้าย ให้ออกไปจากตัว
ชาวล้านนาเชื่อกันว่า ในวันประเพณียี่เป็ง ชาวล้านนาที่เกิดปีจอต้องนมัสการพระธาตุแก้วจุฬามณีซึ่งเป็นสถานที่บรรจุมวยผมของเจ้าชายสิทธัตถะที่ปลงออกก่อนจะบวช แต่เนื่องจากเจดีย์นี้เชื่อกันว่าอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ชาวล้านนาที่เกิดปีจอจึงต้องอาศัยโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าแทนเครื่องบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี
ตัวโคมทำจากกระดาษสาสีสันสวยงาม ติดบนโครงไม้ไผ่ ตรงกลางโคมจะมีตะเกียงติดชนวนสำหรับจุดไฟ  เมื่อจุดไฟที่ตะเกียง ความร้อนจะดันพาโคมลอยให้ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า
TTT_gallery_2012-12-01_22-58_08_number3_

ชนิดของโคมลอยยังสามารถแยกได้เป็น ๒ แบบตามการใช้งานอีกด้วย
๑ โคมที่ใช้ปล่อยในตอนกลางวัน จะเป็นโคมที่อาศัยควันไฟเข้าไปรวมตัวอยู่ในโคมจนเต็ม ช่วยพยุงให้โคมลอยสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า
๒. โคมที่ใช้ปล่อยในตอนกลางคืน โคมชนิดนี้อาศัยความร้อนจากไฟที่ลุกไหม้ไส้โคมที่อยู่ที่ฐานโคม เป็นตัวเร่งให้โคมลอยสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า ปัจจุบันเป็นโคมที่นิยมปล่อยกันมากที่สุด เนื่องจากโคมลอยสูงขึ้นไปบนท้องฟ้าในตอนกลางคืน แสงไฟจากโคมยังสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
p17c49hah01r0e1c45ump1gk2l8h5
แต่เดิมประเพณีลอยโคมนี้คนไทยได้รับอิทธิพลมาจากพิธีทางพราหมณ์ที่จะทำการลอยโคมเพื่บูชาเทพเจ้า เมื่อชาวไทยรับเอาอิทธิพลของพราหมณ์เข้ามา จึงนำพิธีลอยโคมมาใช้สำหรับบูชาพระบรมสารีริกธาตุ บูชาพระพุทธบาท ณ ริมหาดแม่น้ำนัมฆทานที ในประเทศอินเดียในคืนวันลอยกระทง หรือประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา ซึ่งในคืนยี่เป็งของจังหวัดทางภาคเหนือ ท้องฟ้าจงสว่างไสวไปด้วยแสงจากโคมลอยที่ชาวล้านนาจุดขึ้นและปล่อยลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นภาพที่สวยงามน่าประทับใจสำหรับผู้ที่พบเห็นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยและช่างต่างชาติ

ประเพณีวันเข้าพรรษา(ภาคใต้)

ประเพณีภาคใต้

ประเพณีวันเข้าพรรษา

asalhapuja2011-003
เมื่อเข้าสู่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นช่วงเวลาที่สงฆ์จะต้องพำนักจำพรรษาอยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลา ๓ เดือน เรียกช่วงเวลานี้ว่า ช่วงเข้าพรรษา ซึ่งไม่เพียงพระสงฆ์เท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกัน พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะออกมาทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ เจริญสติ ตามหน้าที่ชาวพุทธเช่นเดียวกันเนื่องในวันเข้าพรรษาซึ่งกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา
วันเข้าพรรษา คือช่วงเวลาที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้ามมิให้สงฆ์จาริก ค้างแรมตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลา ๓ เดือนในช่วงฤดูฝน เว้นแต่มีกิจจำเป็น โดยเริ่มตั้งแต่ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ยกเว้นปีใดมีเดือน ๘ สองหน ก็จะเลื่อนไปเริ่มจำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลังแทน
การจำพรรษา เดิมที มีอยู่ ๒ ระยะด้วยกันคือ  นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จะเรียกกันว่า “เข้าพรรษาแรก”   กับเริ่มนับ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะเรียกว่า เข้าพรรษาหลัง ในประเทศไทยพระสงฆ์จะเข้าพรรษาใน เข้าพรรษาแรก
images
ที่มาของวันเข้าพรรษานี้ มาจากพุทธบัญญัติที่ประกาศให้สงฆ์อยู่จำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือนในช่วงฤดูฝน เนื่องมาในสมัยนั้นยังไม่มีประกาศให้ภิกษุอยู่จำพรรษา ปรากฏว่ามีภิกษุกลุ่มฉัพพัคคีย์ได้พาบริวารจำนวน ๑,๕๐๐ รูปเที่ยวเดินทางไปยังที่ต่างๆ ในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูเพาะปลูก ได้เหยียบย่ำข้าวกล้าในนาเสียหาย จนเกิดเสียงติเตียนในหมู่ชาวบ้าน และล่วงรู้ไปถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงประกาศให้มีการประชุมสงฆ์ ไต่ถามข้อเท็จจริง แล้วทรงบัญญัติให้ภิกษุอยู่จำพรรษาในฤดูฝนเป็นเวลา ๓ เดือนเพื่อหลีกให้พ้นฤดูเพาะปลูกไปก่อน
หากจำเป็น สงฆ์สามารถไปค้างคืนที่อื่นๆ คราวละไม่เกิน ๗ วัน จะไม่ถือว่าอาบัติ  โดยยกเว้นให้แก่ เหตุทั้ง ๔ คือ
๑. ภิกษุ ภิกษุณี สิกขามานา สามเณร สามเณรี จะครบบวช หรือบิดามารดาป่วย สามารถกลับไปพยาบาลดูแลได้
๒. ไปยับยั้งภิกษุ ภิกษุณี สิกขามานา สามเณร สามเณรีที่อยากสึก ไม่ให้สึก
๓. เดินทางด้วยกิจของสงฆ์
๔. เดินทางไปร่วมบำเพ็ญบุญตามกิจนิมนต์
ถึงแม้วันเข้าพรรษาจะเป็นที่เกี่ยวเนื่องกับพระสงฆ์โดยตรง กล่าวคือเป็นวันที่พระสงฆ์จะตั้งจิตอธิษฐานว่าจะอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน  พระผู้มมีอาวุโสน้อยกว่าจะเข้าไปขอขมาพระผู้ใหญ่ที่อาจเผลอล่วงเกินทางกาย วาจา และใจ ส่วนพระผู้ใหญ่เองก็ต้องยกโทษให้เช่นกัน
 ในวันนั้นฆราวาสเองก็มีกิจกรรมที่ปฏิบัติในช่วงวันเข้าพรรษาเช่นเดียวกัน หลักๆ แล้วพุทธศาสนิกชนก็จะพากันเข้าวัด ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ สวดมนต์ เจริญสติภาวนา มีการนำสิ่งของจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ในการดำรงชีพในช่วง ๓ เดือนข้างหน้าไปถวาย เช่น น้ำตาล สบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าอาบน้ำฝน  และเทียนเข้าพรรษาสำหรับจุดอ่านหนังสือในระหว่างสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น  โดยเฉพาะการแห่เทียนเข้าพรรษาไปที่วัดจะมีขบวนแห่เอกเกริก สนุกสนานด้วยเสียงดนตรี
3605;3633;3585;3610;3634;3605;3619
สำหรับพระภิกษุสงฆ์ การอยู่จำพรรษาที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลา ๓ เดือน เป็นโอกาสที่พระภิกษุจะได้ศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติได้เต็มที่  ส่วนฆราวาสเองก็เป็นโอกาสอันดีทีจะได้ทำบุญตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ ฟังเทศน์ เจริญสติ เจริญภาวนา สมัยโบราณบางบ้านก็จะอาศัยช่วงเวลา ๓ เดือนนี้ ให้บุตรหลานได้บวชเรียนเพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลายคนก็ถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่มต้นที่จะ ลด ละ เลิกสิ่งไม่ดี งดเหล้า งดเที่ยวเตร่ งดบุหรี หรือการพูดจาที่ไม่เหมาะสม เป็นเวลา ๓ เดือน

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ(ภาคใต้)

ประเพณีในภาคใต้

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
1302162952
ประเพณีการแห่ผ้าผืนยาวขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรวิหารของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียงถือปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายชั่วคน ด้วยความเชื่อที่ว่าการห่มผ้ารอบองค์พระบรมธาตุ เปรียบกับได้การบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เดิมทีชาวนครศรีธรรมราชจะร่วมกันบริจาคเงินทองเพื่อซื้อผ้ามาเย็บเป็นผ้าผืนยาวเพื่อห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวนครศรีธรรมราชที่มีต่อพระบรมธาตุเจดีย์ที่เป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจ
สำหรับกำหนดการแห่ผ้าขึ้นธาตุ จัดขึ้นปีละ ๒ ครั้ง  คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๓ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันวิสาขบูชา
โดยจะมีการเตรียมผ้าสำหรับห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ในอดีตผ้าที่ใช้ห่มจะเรียกว่าผ้าพระบฎ ซึ่งเป็นผ้าที่มีการเขียนเรื่องราวพุทธประวัติเอาไว้อย่างสวยงาม แต่ปัจจุบันการทำผ้าพระบฎนั้นหาคนทำยากและมีค่าใช้จ่ายสูง  จึงมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ผ้าขาว ผ้าย้อมฝาด ผ้าแดง แทน ส่วนขนาดของผ้านั้นก็ตามกำลังทรัพย์ของแต่ละคน
พิธีการแห่ผืนห่มธาตุ ในสมัยก่อนเจ้าผู้ครองนครและทายาทจะเป็นผู้ทำหน้าที่แห่ โดยจะมีการจัดเตรียมอาหารคาวหวาน เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น จัดรูปขบวนสวยงามหาบคอนไปถวายพระภิกษุสงฆ์ในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีนำกล่าวคำถวายผ้าพระบฎก่อน จากนั้นก็จะแห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ๓ รอบ แล้วนำผ้าเข้าสู่วิหารพระทางม้า นำผ้าพระบฎขึ้นโอบรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์
icon_1360300214
แต่เนื่องจากปัจจุบันพุทธศาสนิกชนที่ศรัทธาในการแห่ผ้าขึ้นธาตุมาจากหลากหลายที่ ทำให้พิธีแห่ผ้าขึ้นธาตุเกิดขึ้นไม่พร้อมเพรียงกัน เพื่อความสะดวกจึงมีการแห่ผ้าตามสะดวกไม่จำเป็นต้องรอให้เป็นพิธีเดียวกัน และปัจจุบันคงเหลือแต่พิธีการแห่ผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเท่านั้น ส่วนขบวนแห่ต่างๆ ได้งดเว้นไปแล้ว และการห่มผ้าอนุญาตให้ส่งตัวแทนขึ้นไป ๓-๔ คนร่วมกับเจ้าหน้าที่ของทางวัดเท่านั้น
photo20
ประเพณีการแห่ผ้าขึ้นธาตุสืบเนื่องมาจากสมัยพญาศรีธรรมาโศกราชจันทรภานุทำพิธีวิสาขะสมโภชพระบรมธาตุหลังบูรณะ มีตำนาเล่าขานกันว่า ก่อนเริ่มพิธีสมโภชไม่กี่วัน คลื่นทะเลได้ซัดผ้าแถบผืนหนึ่งขึ้นฝั่งมา บนผ้ามีลายเขียนเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติ ซึ่งเรียกกันว่าผ้าพระบฎ พญาศรีธรรมาโศกราชจันทรภานุจึงประกาศหาเจ้าของ จนพบว่าผ้าผืนดังกล่าวเป็นของชาวเมืองอินทรปัตรซึ่งอยู่แถวลุ่มแม่น้ำโขงฝั่งเขมร นำลงเรือหวังจะไปบูชาพระทันตธาตุ พระเขี้ยวแก้วที่ลังกา แต่เรือโดนมรสุมแตกลงที่หน้าเมืองนครศรีธรรมราช หัวหน้าคณะได้จมน้ำเสียชีวิตไปก่อนเหลือแต่ลูกเรือรอดขึ้นฝั่งมาได้  พญาศรีธรรมาโศกราชจันทรภานุจึงมีดำริให้มีขบวนแห่ผ้าพระบฎผืนนั้น ขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุ และอุทิศกุศลผลบุญให้แก่หัวหน้าคณะในคราวเดียวกัน
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวนครศรีธรรมราชจึงจัดให้มีประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นประจำทุกปีที่จะต้องปฏิบัติสืบทอดจนกลายเป็นพิธีกรรมสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของจังหวัดนครศรีธรรมราช


วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การจัดฟัน


วิธีการ ทำให้การจัดฟันเจ็บน้อยลง


1.ทานยาแก้ปวด. ลองยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ที่มีขายอยู่ทั่วไปอย่าง ibuprofen อ่านฉลากและทานยาตามปริมาณที่กำหนดสำหรับช่วงอายุของคุณ ทานอาหารสักเล็กน้อยก่อนทานยาจะได้ไม่ปวดท้อง
  • รับประทานยาตัวนี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และไม่ควรทานต่อเนื่องเกิน 10 วัน[1]
  • ส่วน 1 ของ 2: สำหรับใครที่พึ่งติดเครื่องมือหรือพึ่งดึงเหล็ก

    1. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 1
      1
      ทานยาแก้ปวด. ลองยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ที่มีขายอยู่ทั่วไปอย่าง ibuprofen อ่านฉลากและทานยาตามปริมาณที่กำหนดสำหรับช่วงอายุของคุณ ทานอาหารสักเล็กน้อยก่อนทานยาจะได้ไม่ปวดท้อง
      • รับประทานยาตัวนี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และไม่ควรทานต่อเนื่องเกิน 10 วัน[1]
    2. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 2
      2
      ทานของเย็นและอาหารนิ่มๆ. เหล็กจัดฟันส่วนใหญ่อาศัยความร้อนเพื่อคืนรูปและดึงฟันของคุณ[2] อาหารเย็นๆ หรือเครื่องดื่มเย็นๆ จะทำให้เหล็กคลายตัวได้ชั่วคราว ลองทานน้ำปั่น,โยเกิร์ต, ไอศกรีมหรือซอสแอปเปิ้ล เลือกอาหารที่ไม่มีท็อปปิ้งหรือก้อนอะไรแข็งๆ การอมน้ำแข็งบดก็ช่วยคุณได้นะ หลีกเลี่ยงน้ำแข็งก้อน เพราะมันแข็งเกินไป
      • ถ้าคุณมีอาการเสียวฟันหรือใส่เครื่องมือจัดฟันที่ไม่ใช่แบบทั่วไป คุณอาจจะมีอาการเจ็บที่แตกต่างออกไป สำหรับบางคนแล้ว เครื่องดื่มอุ่นๆ จะช่วยได้มากกว่า ห้ามรับประทานอาหารที่ร้อนและเย็นในเวลาเดียวกัน เพราะมันจะไปทำลายสารเคลือบฟัน 
    3. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 3
      3
      หลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียว. อาการเจ็บฟันจะหายไปใน 2-3 วัน แต่กว่าจะถึงตอนนั้น ลืมพวกผักสดแข็งๆ ไปก่อน รับประทานอาหารจำพวกซุป, ปลาและข้าวสวยแทน ผักก็ทำให้นิ่มก่อนทาน เลือกทานผลไม้นิ่มๆ หรือไม่ก็ซอสแอปเปิ้ล อาหารเหนียวๆ เช่น หมากฝรั่ง หรือลูกกวาด สามารถทำให้เหล็กจัดฟันหลุดทั้งเส้นได้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้แม้ว่าจะหายเจ็บแล้ว[3]
      • หลังจากที่อาการเจ็บฟันในตอนแรกหายไปแล้ว คุณสามารถทานอาหารแข็งๆ ได้ โดยหั่นให้เป็นชิ้นบางๆ หรือชิ้นเล็กๆ
    4. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 4
      4
      ใช้ไหมขัดฟันจัดการกับเศษอาหารที่ติดฟัน. เศษอาหารเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังการจัดฟัน แต่จะปวดมากหากคุณพึ่งไปดึงเหล็กมา ลองใช้ไหมขัดฟันแบบมีด้ามเพื่อเลี่ยงไม่ให้ไหมเกี่ยวเหล็กจัดฟัน
      • การใช้ไหมขัดฟันทุกวันจะทำฟันของคุณสะอาด แม้คุณจะมองไม่เห็นเศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน การใช้ไหมขัดฟันเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการจัดฟัน เพราะคราบพลัคชอบก่อตัวอยู่รอบๆ แบร็คเก็ต
    5. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 5
      5
      นวดเหงือกด้วยแปรงสีฟัน. ค่อยๆ ใช้แปรงสีฟันนวดเป็นวงกลมบริเวณเหงือกที่อักเสบ
    6. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 6
      6
      อย่าไปใส่ใจ. การพักเรื่องเรียนหรือเรื่องงานอาจจะฟังดูน่าสนุก แต่คุณอาจเสียใจภายหลัง ออกไปข้างนอกและใช้ชีวิตอย่างที่คุณเคยทำ เพื่อที่คุณจะลืมอาการเจ็บฟัน
    7. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 7
      7
      สอบถามวิธีดูแลจากหมอจัดฟันของคุณ. คุณหมออาจแนะนำ เจล, ยาทา, น้ำยาล้างปากหรืออุปกรณ์ป้องกันเพื่อลดอาการปวดฟัน หลายสิ่งที่กล่าวมาสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา คุณหมอของคุณสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ใช้ได้ผลดีที่สุด

    ส่วน 2 ของ 2: ลวดคมๆ, แบร๊คเก็ต และขอเกี่ยว

    1. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 8
      1
      ระบุตำแหน่งที่เจ็บ. ถ้าคุณยังไม่ค่อยแน่ใจว่าเจ็บตรงไหน ใช้นิ้วหรือลิ้นไล่ไปตามปากด้านในของคุณ คุณจะสัมผัสได้ถึงตรงที่เจ็บหรือบริเวณที่บวม หาให้เจอว่าลวด, แบล็คเก็ต หรือตะขอตรงไหนที่ทิ่มบริเวณนั้น
    2. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 9
      2
      ใช้ขี้ผึ้งจัดฟันติดที่เหล็ก. คุณสามารถหาซื้อขี้ผึ้งสำหรับคนจัดฟันได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือที่ร้านหมอฟันของคุณ ล้างมือของคุณให้เรียบร้อยก่อนจะคลึงขี้ผึ้งจนนิ่ม ปั้นเป็นก้อนกลมจากนั้นติดขี้ผึ้งตรงบริเวณที่มีปัญหาใช้นิ้วหรือลิ้นกดขี้ผึ้งให้แนบไปกับเหล็กที่ทิ่มปากคุณ คุณสามารถใช้ขี้ผึ้งจัดฟันกับลวดคมๆ, แบร็คเก็ต หรือ ขอเกี่ยวยาง
      • คุณไม่จำเป็นต้องนำขี้ผึ้งจัดฟันออกในขณะที่ทานอาหาร ไม่เป็นไรหรอกถ้าคุณจะกลืนขี้ผึ้งจัดฟันซักชิ้น[4]
    3. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 10
      3
      ใช้ลิปมันแทนชั่วคราว. ถ้าคุณไม่มีขี้ผึ้ง ลิปมันที่ไม่มีสารพิษชิ้น "เล็กๆ" อาจจะช่วยคุณได้ แม้การกลืนลงไปจำนวนมากอาจจะทำให้คุณปวดท้อง แต่ชิ้นเล็กๆ ซักชิ้นในปากคุณไม่ทำอันตรายคุณหรอก [5] ใช้ลิปบาล์มสำหรับช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่คุณจะหาซื้อขี้ผึ้งสำหรับคนจัดฟันได้
      • บางคนแพ้กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก ที่มักพบในลิปบาล์มที่มีสารกันแดด[6][7] เรียกรถพยาบาล ถ้าคุณรู้สึกเวียนหัวหรือปากบวม
    4. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 11
      4
      ดัดลวดหรือขอเกี่ยวให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ทิ่มคุณ. ใช้วิธีนี้กับลวดเส้นบางๆ, ลวดที่งอได้ หรือขอเกี่ยวยางที่ทิ่มแก้มหรือเหงือกของคุณ “เท่านั้น” ดัดลวดให้โค้งเข้าไปหาฟันของคุณเบาๆ ด้วยนิ้วที่สะอาดหรือยางลบที่หัวดินสอแท่งใหม่[8]
      • ห้ามงอลวดที่อยู่ระหว่างแบร็คเก็ต หรือลวดเส้นใดก็ตามที่ไม่สามารถงอได้ง่ายๆ
    5. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 12
      5
      ให้หมอจัดฟันของคุณตัดลวดคมๆ ออกให้. ทันตแพทย์สามารถตัดลวดออกให้ได้ง่ายๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่คิดเงิน และบางทีคุณอาจจะไม่ต้องจองคิวเลยก็ได้
      • นี่ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย เพราะฉะนั้นหมอจัดฟันของคุณคงไม่ยอมพบคุณนอกเวลางาน ใช้ขี้ผึ้งจัดฟันไปพลางๆ จนกว่าร้านหมอฟันจะเปิด
    6. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 13
      6
      รอให้ดีขึ้นเอง. เมื่อเหล็กดัดฟันเสียดสีข้างในช่องปากของคุณเรื่อยๆ ข้างในปากของคุณจะแข็งแรงขึ้นเอง ตราบใดที่เหล็กดัดฟันของคุณไม่คมหรือบาดเนื้อในปากของคุณ อาการเจ็บจะหายไปเองภายในไม่กี่วัน หรือไม่ก็ไม่กี่อาทิตย์
      • ขี้ผึ้งจัดฟันช่วยร่นเวลาได้ เมื่ออาการเจ็บทุเลาลงแล้ว ใช้ขี้ผึ้งจัดฟันให้ชิ้นบางลง บางลงเรื่อยๆ เพื่อให้ปากของคุณชินกับเหล็กจัดฟัน
    7. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 14
      7
      หายใจเข้าเพื่อให้บริเวณที่เจ็บนั้นแห้ง. สูดหายใจเข้าลึกๆ ให้ลมเข้าไปอยู่ในปากเพื่อให้บริเวณที่เป็นแผลนั้นแห้ง ทำอย่างนี้จะช่วยให้หายเจ็บได้ชั่วคราว
      • ห้ามทำบริเวณที่มีฝุ่น เกสรดอกไม้ และควันจากท่อรถ
    8. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 15
      8
      กลั้วปากด้วยน้ำเกลือ. ละลายเกลือสักช้อนลงในน้ำอุ่นสักแก้ว คนกระทั่งเกลือละลาย กลั้วปากด้วยน้ำเกลือจากนั้นบ้วนออกมา ทำซ้ำๆ ให้บ่อยเท่าที่จำเป็นในช่วงแรกๆ ที่มีอาการเจ็บ ทำอย่างนี้จะช่วยลดอาการบวมและช่วยฆ่าเชื้อโรค
      • สามารถใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมที่ช่วยในการฆ่าเชื้อแทนได้[9] ทำตามฉลากแนะนำและห้ามกลืนเด็ดขาด
    9. ตั้งชื่อภาพ Make Your Braces Hurt Less Step 16
      9
      ไปพบหมอจัดฟันของคุณหากอาการเจ็บยังไม่หายไป. หากอาการเจ็บของคุณนั้นรุนแรงจนคุณไม่สามารถทำอะไรได้ โทรหาหมอจัดฟันของคุณเพื่อนัดพบทันที ถ้าอาการเจ็บของคุณอยู่ในระดับปานกลาง แต่เป็นอาทิตย์แล้วยังไม่หายซักที จองคิวกับหมอจัดฟันของคุณเลย คุณหมออาจจะพบต้นตอของปัญหาการจัดฟันของคุณ หรืออาจจะเปลี่ยนวิธีการจัดฟันให้คุณเจ็บน้อยลง