วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเพณีวันเข้าพรรษา(ภาคใต้)

ประเพณีภาคใต้

ประเพณีวันเข้าพรรษา

asalhapuja2011-003
เมื่อเข้าสู่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นช่วงเวลาที่สงฆ์จะต้องพำนักจำพรรษาอยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลา ๓ เดือน เรียกช่วงเวลานี้ว่า ช่วงเข้าพรรษา ซึ่งไม่เพียงพระสงฆ์เท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกัน พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะออกมาทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ เจริญสติ ตามหน้าที่ชาวพุทธเช่นเดียวกันเนื่องในวันเข้าพรรษาซึ่งกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา
วันเข้าพรรษา คือช่วงเวลาที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้ามมิให้สงฆ์จาริก ค้างแรมตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลา ๓ เดือนในช่วงฤดูฝน เว้นแต่มีกิจจำเป็น โดยเริ่มตั้งแต่ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ยกเว้นปีใดมีเดือน ๘ สองหน ก็จะเลื่อนไปเริ่มจำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลังแทน
การจำพรรษา เดิมที มีอยู่ ๒ ระยะด้วยกันคือ  นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จะเรียกกันว่า “เข้าพรรษาแรก”   กับเริ่มนับ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะเรียกว่า เข้าพรรษาหลัง ในประเทศไทยพระสงฆ์จะเข้าพรรษาใน เข้าพรรษาแรก
images
ที่มาของวันเข้าพรรษานี้ มาจากพุทธบัญญัติที่ประกาศให้สงฆ์อยู่จำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือนในช่วงฤดูฝน เนื่องมาในสมัยนั้นยังไม่มีประกาศให้ภิกษุอยู่จำพรรษา ปรากฏว่ามีภิกษุกลุ่มฉัพพัคคีย์ได้พาบริวารจำนวน ๑,๕๐๐ รูปเที่ยวเดินทางไปยังที่ต่างๆ ในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูเพาะปลูก ได้เหยียบย่ำข้าวกล้าในนาเสียหาย จนเกิดเสียงติเตียนในหมู่ชาวบ้าน และล่วงรู้ไปถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงประกาศให้มีการประชุมสงฆ์ ไต่ถามข้อเท็จจริง แล้วทรงบัญญัติให้ภิกษุอยู่จำพรรษาในฤดูฝนเป็นเวลา ๓ เดือนเพื่อหลีกให้พ้นฤดูเพาะปลูกไปก่อน
หากจำเป็น สงฆ์สามารถไปค้างคืนที่อื่นๆ คราวละไม่เกิน ๗ วัน จะไม่ถือว่าอาบัติ  โดยยกเว้นให้แก่ เหตุทั้ง ๔ คือ
๑. ภิกษุ ภิกษุณี สิกขามานา สามเณร สามเณรี จะครบบวช หรือบิดามารดาป่วย สามารถกลับไปพยาบาลดูแลได้
๒. ไปยับยั้งภิกษุ ภิกษุณี สิกขามานา สามเณร สามเณรีที่อยากสึก ไม่ให้สึก
๓. เดินทางด้วยกิจของสงฆ์
๔. เดินทางไปร่วมบำเพ็ญบุญตามกิจนิมนต์
ถึงแม้วันเข้าพรรษาจะเป็นที่เกี่ยวเนื่องกับพระสงฆ์โดยตรง กล่าวคือเป็นวันที่พระสงฆ์จะตั้งจิตอธิษฐานว่าจะอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน  พระผู้มมีอาวุโสน้อยกว่าจะเข้าไปขอขมาพระผู้ใหญ่ที่อาจเผลอล่วงเกินทางกาย วาจา และใจ ส่วนพระผู้ใหญ่เองก็ต้องยกโทษให้เช่นกัน
 ในวันนั้นฆราวาสเองก็มีกิจกรรมที่ปฏิบัติในช่วงวันเข้าพรรษาเช่นเดียวกัน หลักๆ แล้วพุทธศาสนิกชนก็จะพากันเข้าวัด ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ สวดมนต์ เจริญสติภาวนา มีการนำสิ่งของจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ในการดำรงชีพในช่วง ๓ เดือนข้างหน้าไปถวาย เช่น น้ำตาล สบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าอาบน้ำฝน  และเทียนเข้าพรรษาสำหรับจุดอ่านหนังสือในระหว่างสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น  โดยเฉพาะการแห่เทียนเข้าพรรษาไปที่วัดจะมีขบวนแห่เอกเกริก สนุกสนานด้วยเสียงดนตรี
3605;3633;3585;3610;3634;3605;3619
สำหรับพระภิกษุสงฆ์ การอยู่จำพรรษาที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลา ๓ เดือน เป็นโอกาสที่พระภิกษุจะได้ศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติได้เต็มที่  ส่วนฆราวาสเองก็เป็นโอกาสอันดีทีจะได้ทำบุญตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ ฟังเทศน์ เจริญสติ เจริญภาวนา สมัยโบราณบางบ้านก็จะอาศัยช่วงเวลา ๓ เดือนนี้ ให้บุตรหลานได้บวชเรียนเพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลายคนก็ถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่มต้นที่จะ ลด ละ เลิกสิ่งไม่ดี งดเหล้า งดเที่ยวเตร่ งดบุหรี หรือการพูดจาที่ไม่เหมาะสม เป็นเวลา ๓ เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น