วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเพณีลอยโคม(ภาคเหนือ)

ประเพณีภาคเหนือ

ประเพณีลอยโคม

yi-peng-lantern-festival-01
ประเพณีหนึ่งที่ชาวล้านนาถือปฏิบัติคู่ไปกับประเพณียี่เป็งก็คือการลอยโคม การลอยโคมของชาวล้านนาเป็นการปล่อยโคมขึนไปสู่ท้องฟ้า แทนการลอยกระทงในลำน้ำอย่างประเพณีของคนภาคกลาง ชาวล้านนาเชื่อว่าการจุดโคมลอย แล้วปล่อยขึ้นฟ้า เป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ และยังเป็นการปล่อยทุกข์ปล่อยโศก และเรื่องร้าย ให้ออกไปจากตัว
ชาวล้านนาเชื่อกันว่า ในวันประเพณียี่เป็ง ชาวล้านนาที่เกิดปีจอต้องนมัสการพระธาตุแก้วจุฬามณีซึ่งเป็นสถานที่บรรจุมวยผมของเจ้าชายสิทธัตถะที่ปลงออกก่อนจะบวช แต่เนื่องจากเจดีย์นี้เชื่อกันว่าอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ชาวล้านนาที่เกิดปีจอจึงต้องอาศัยโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าแทนเครื่องบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี
ตัวโคมทำจากกระดาษสาสีสันสวยงาม ติดบนโครงไม้ไผ่ ตรงกลางโคมจะมีตะเกียงติดชนวนสำหรับจุดไฟ  เมื่อจุดไฟที่ตะเกียง ความร้อนจะดันพาโคมลอยให้ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า
TTT_gallery_2012-12-01_22-58_08_number3_

ชนิดของโคมลอยยังสามารถแยกได้เป็น ๒ แบบตามการใช้งานอีกด้วย
๑ โคมที่ใช้ปล่อยในตอนกลางวัน จะเป็นโคมที่อาศัยควันไฟเข้าไปรวมตัวอยู่ในโคมจนเต็ม ช่วยพยุงให้โคมลอยสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า
๒. โคมที่ใช้ปล่อยในตอนกลางคืน โคมชนิดนี้อาศัยความร้อนจากไฟที่ลุกไหม้ไส้โคมที่อยู่ที่ฐานโคม เป็นตัวเร่งให้โคมลอยสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า ปัจจุบันเป็นโคมที่นิยมปล่อยกันมากที่สุด เนื่องจากโคมลอยสูงขึ้นไปบนท้องฟ้าในตอนกลางคืน แสงไฟจากโคมยังสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
p17c49hah01r0e1c45ump1gk2l8h5
แต่เดิมประเพณีลอยโคมนี้คนไทยได้รับอิทธิพลมาจากพิธีทางพราหมณ์ที่จะทำการลอยโคมเพื่บูชาเทพเจ้า เมื่อชาวไทยรับเอาอิทธิพลของพราหมณ์เข้ามา จึงนำพิธีลอยโคมมาใช้สำหรับบูชาพระบรมสารีริกธาตุ บูชาพระพุทธบาท ณ ริมหาดแม่น้ำนัมฆทานที ในประเทศอินเดียในคืนวันลอยกระทง หรือประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา ซึ่งในคืนยี่เป็งของจังหวัดทางภาคเหนือ ท้องฟ้าจงสว่างไสวไปด้วยแสงจากโคมลอยที่ชาวล้านนาจุดขึ้นและปล่อยลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นภาพที่สวยงามน่าประทับใจสำหรับผู้ที่พบเห็นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยและช่างต่างชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น