วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเพณีสารทเดือนสิบ(ภาคกลาง)

ประเพณีภาคกลาง

ประเพณีสารทเดือนสิบ

1351060723
ประเพณีสารทไทยหรือประเพณีทำบุญเดือนสิบทางภาคใต้โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีงานหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช เนื่องจากเป็นเทศกาลที่ชาวนครศรีธรรมราช จะเดินเข้าวัดทำบุญเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันแรม ๑๓ – ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ

และที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวนครฯ ก็คือ gopในการทำบุญจะต้องมีขนมสำคัญ ๕ อย่างรวมอยู่ด้วย ซึ่งขนมสำคัญ ๕ อย่างที่ว่านั้นยังแฝงนัยยะสำคัญอะไรบ้างอย่างไว้ด้วย
–  ขนมลา เชื่อกันว่าเป็นตัวแทนของเสื้อผ้าที่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วใช้นุ่งห่ม
–  ขนมกงหรือขนมไข่ปลา เปรียบได้กับเครื่องประดับที่บรรพบุรุษนำไปประดับตกแต่งร่างกาย
–  ขนมพอง ชาวนครศรีธรรมราชเชื่อว่าเสมือนแพพาหนะให้บรรพบุรุษใช้ข้ามวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิด
–  ขนมบ้า เปรียบเทียบได้กับเมล็ดสะบ้า ที่บรรพบุรุษเอาไว้เล่นสะบ้าในเทศกาลตรุษสงกรานต์
–  ขนมดีซำ หมายถึงเงินทองที่บรรพบุรุษสามารถนำไปใช้ในโลกหน้าได้
 5-18-7-57
เดิมทีประเพณีสารทเดือนสิบนี้เป็นของพราหมณ์มาก่อน เมื่ออิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาในหมู่คนไทยทางภาคใต้ที่นับถือศาสนาพุทธ  ด้วยเห็นว่าความเชื่อนี้ของพรหมณ์เป็นสิ่งที่แสดงถึงความกตัญญูที่ลูกหลานสมควรมีให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว  และยังเป็นโอกาสที่ญาติพี่น้องที่แยกย้ายกันไปสร้างครอบครัวในที่ห่างไกลจะได้กลับมาพบหน้ากัน กระชับสายสัมพันธ์ในครอบครัวให้แนบแน่นยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ชาวนครศรีธรรมราชยังมีความเชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบเป็นวันที่ประตูนรกเปิดออก เปรตที่ต้องถูกจองจำให้ชดใช้เวรกรรมในนรก จะได้รับอิสรภาพเป็นการชั่วคราวให้ขึ้นมายังโลกมนุษย์เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลาน ด้วยเหตุนี้ ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะพากันนำอาหารไปทำบุญอุทิศผลบุญกุศลจากการทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับของตนเอง ชาวนครศรีธรรมราชจึงมีประเพณีที่ชื่อว่า ชิงเปรต เกิดขึ้นนั่นเอง
yala-105
ประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช จะเริ่มต้นขึ้นในวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือนสิบ วันนี้จะเรียกกันว่าเป็น วันจ่าย มีการจับจ่ายซื้อขายอาหารแห้ง พืชผัก ข้าวของเครื่องใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นตัวแทนของงานสารทเดือนสิบ จัดเตรียมไว้สำหรับพิธีการวันรุ่งขึ้น  โดยจะจัดสิ่งของ อาหารคาวหวานและขนมสำคัญ ๕ อย่างใส่ภาชนะที่เตรียมไว้โดยวางเรียงเป็นชั้นๆ ขึ้นมา ชาวนครฯ จะเรียกกันว่าการจัดหมุรับ โดยจะเรียงข้าวสารอาหารแห้งไว้ชั้นล่างสุด ต่อจากนั้นก็จะเป็นชั้นของพืชผักที่เก็บไว้ได้นานๆ ถัดขึ้นมาจะเป็นชั้นของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน ส่วนชั้นบนสุดจะจัดเรียงขนมสำคัญ ๕ อย่าง
วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบ ชาวนครจะนำหมุรับที่จัดไว้ ไปทำบุญที่วัดพร้อมกับถวายภัตตาหารไปด้วย และวันสุดท้ายของประเพณีสารทเดือนสิบ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ จะเป็นวันฉลอง ที่วัดจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ และบังสุกุล เพื่อส่งบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วกลับไปยังนรก ตามประเพณีปฏิบัติแล้ว บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วจะได้รับผลบุญนี้ก็ต่อเมื่อมีลูกหลานจัดฉลองหมุรับ และการบังสุกุลให้เท่านั้น
ในวันเดียวกันนี้เอง หลังจากฉลองหมุรับและถวายภัตตาหารพระภิกษุแล้ว ชาวนครฯ จะทำทานต่อด้วยการนำขนมบางส่วนไปวางไว้ตามโคนไม้ใหญ่ หรือกำแพงวัดบ้าง  หรือวางไว้บนศาลาหรือทำเป็นศาลาสูงมีเสาเพียงต้นเดียว ในศาลาจะใส่ขนม ผลไม้ และเงิน เมื่อถึงเวลา ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะวิ่งกรูกันเข้าไปที่ศาลาไม้นี้หรือแย่งกันปีนเสาที่ชโลมน้ำมันเอาไว้ การปีนจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่กลายเป็นภาพความสนุกสนาน ความตื่นเต้นของผู้ยืนลุ้นเอาใจช่วยอยู่ด้านล่าง
จะเห็นได้ว่าประเพณีสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราชนั้น ไม่เพียงสอนให้คนรู้จักการเข้าวัดเข้าวาเท่านั้น ยังสอนให้คนเป็นคนกตัญญูต่อบรรพบุรุษทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและที่ยังมีลมหายใจอยู่ สอนให้รู้จักการบริจาคทาน  เปิดโอกาสให้สถาบันครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคมได้สานความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้เข้มแข็งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น